#พิธีมอบใบตราตั้งไวยาวัจกร วัดมัชฌันติการาม
>>วันนี้ วันจันทร์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๙ น. พระเดชพระคุณ พระพุทธิสารโสภณ เจ้าอาวาสวัดมัชฌันติการาม มอบใบตราตั้งไวยาวัจกร แก่
๑. คุณชรินทร์ พงศ์ทรรพ
๒. คุณสมโภชน์ คารมปราชญ์
มัชฌันติก (เที่ยง) + อาราม (วัด) = มัชฌันติการาม แปลว่า “วัดของเจ้าจอมมารดาเที่ยง”
About Watmatchantikaram
#พิธีมอบใบตราตั้งไวยาวัจกร วัดมัชฌันติการาม
>>วันนี้ วันจันทร์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๙ น. พระเดชพระคุณ พระพุทธิสารโสภณ เจ้าอาวาสวัดมัชฌันติการาม มอบใบตราตั้งไวยาวัจกร แก่
๑. คุณชรินทร์ พงศ์ทรรพ
๒. คุณสมโภชน์ คารมปราชญ์
ปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัด มีดังนี้
๑. พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตัก ๕๐ นิ้ว เล่ากันว่าเป็นพระสานด้วยไม้ไผ่ แล้วปั้นด้วยปูน ลงรักปิดทอง สร้างกันมาเก่าแก่คู่กับอุโบสถ พระประธานในอุโบสถของวัดมัชฌันติการามองค์นี้ ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีแห่งกรมศิลปากรได้พิจารณาแล้วว่า มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น องค์พระแม้จะลงรักปิดทองแล้วยังมองดูได้ชัดเจน เช่น พระหัตถ์ พระบาท วงพระพักตร์ และพระรัศมี เป็นต้น
โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม ตั้งอยู่เลขที่ ๒๐๓ ซอยวงศ์สว่าง ๑๑ ถนนวงศ์สว่าง แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร โรงเรียนนี้ เดิมเป็นโรงเรียนประชาบาล ที่ตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติประถมศึกษา เปิดเรียนเมื่อ วันที่ ๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ รองอำมาตย์ตรีสงัด ศรีเพ็ญ นายอำเภอบางซื่อได้ทำพิธีเปิด มีครู ๒ คน คือ นายปลั่ง ปั้นลายนาค ครูใหญ่ และนายสำราญ มหากายนันท์ เป็นครูน้อย มีนักเรียนชาย ๓๑ คน หญิง ๔๓ คน รวม ๗๔ คน
ทั้งสองสถาบันนั้นต่างมีที่มาแห่งนามสถาบันจากที่เดียวกัน กล่าวคือ วัดมัชฌันติการามนั้นเป็นนามโปรดเกล้าฯพระราชทาน ในรัชกาลที่ ๕ เพื่อเป็นเกียรติ แก่เจ้าจอมมารดาเที่ยง เจ้าจอมมารดาในราชกาลที่ ๔ นามพระราชทานนี้ใช้มาตั้งแต่ปี พุทธศักราช ๒๔๑๗
อ่านเพิ่มเติม “ความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กับวัดมัชฌันติการาม”
ประวัติพระครูใบฎีกาพันธุ์ (หลวงปู่พันธ์ อาจาโร)
หลวงตาพันธุ์ นามเดิมชื่อ พันธุ์ เกตุพิมาย เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๓ ปีจอ ตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โยมบิดาชื่อ นายสี เกตุพิมาย โยมมารดาชื่อ นางหล้า เกตุพิมาย
อ่านเพิ่มเติม “ประวัติพระครูใบฎีกาพันธุ์ (หลวงปู่พันธ์ อาจาโร)”
ประวัติเจ้าจอมมารดาเที่ยง
เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2374 – พ.ศ. 2456) เป็นเจ้าจอมมารดาของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป
ประวัติพระพุทธิสารโสภณ
ประวัติพระพุทธิสารโสภณ
พระพุทธิสารโสภณ นามเดิม เดช นามสกุล ศาลา ฉายา กตปุญฺโญ เป็นบุตร ของนายทอก นางใบ ศาลา เกิดวันอังคารที่ ๒๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ บ้านเลขที่ ๓๓ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร บรรพชา ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖ วัดสุทธิมงคล อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร อุปสมบท ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖ วัดสามัคคีบำเพ็ญผล อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พระอุปัชฌาย์ พระครูพุฒิวราคม วัดคามวาสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พระกรรมวาจาจารย์ พระครูวิจิตรธรรมสาร วัดมัชฌันติการาม เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พระอนุสาวนาจารย์ พระครูวิทิตคุณาภรณ์ วัดสามัคคีบำเพ็ญผล อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
ชาติภูมิ
พระครูวิจิตรธรรมสาร นามเดิม ไขย นามสกุล นามสง่า ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น วิสุธรรม เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ตรงกับวันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ ปีกุน ณ บ้านขวาว หมู่ที่ ๔ ตำบลขวาว อำเภอ เสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โยมบิดา ชื่อ นายพรหมเสน นามสง่า โยมมารดา ชื่อ นางตุ่น นามสง่า ท่านเป็นบุตรคนที่ ๗ ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๘ คน คือ
ประวัติของพระครูธรรมสารวิจิตร (หลวงปู่อ่อน ญาณเตโช)
ประวัติของพระครูธรรมสารวิจิตร หรือหลวงปู่อ่อน ญาณเตโช ไม่มีการบันทึกไว้ มีแต่การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาของบรรดาศิษยานุศิษย์ จึงต้องทำการค้นคว้าต่อไปตามคำบอกเล่าที่พอจะรวบรวมได้ คือ ภูมิลำเนาเดิมของหลวงปู่อ่อน
ปูชนียสถานและถาวรวัตถุที่สำคัญในวัดมัชฌันติการาม
๑. อุโบสถ เป็นอุโบสถเก่าแก่ สร้างมาตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างวัด มาแล้วเสร็จและผูกพัทธสีมาให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยในปี พุทธศักราช ๒๔๑๘ รูปแบบอุโบสถเดิม ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ เป็นทรงปั้นหยา แต่เนื่องจากได้รับการบูรณะหลายครั้ง จึงมีรูปแบบอย่างที่เห็นในปัจจุบัน โดยมีความยาว ๒๒.๕๐ เมตร กว้าง ๙.๘๐ เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันตกอันมีคลองบางเขนใหม่ เป็นทิศเบื้องหน้า หลังคามุงกระเบื้องโบราณ มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันถือปูนมีตรีมูรติอยู่บนพาน อันเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์จักรี ภายใต้มงกุฎครอบ มีฉัตร ๕ ชั้น ประดับทั้งสองข้าง มีรัศมีเปล่งประกายโดยรอบ ซึ่งใช้เป็นตราของวัดมัชฌันติการามปัจจุบัน