ประวัติพระพุทธิสารโสภณ
พระพุทธิสารโสภณ นามเดิม เดช นามสกุล ศาลา ฉายา กตปุญฺโญ เป็นบุตร ของนายทอก นางใบ ศาลา เกิดวันอังคารที่ ๒๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ บ้านเลขที่ ๓๓ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร บรรพชา ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖ วัดสุทธิมงคล อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร อุปสมบท ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖ วัดสามัคคีบำเพ็ญผล อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พระอุปัชฌาย์ พระครูพุฒิวราคม วัดคามวาสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พระกรรมวาจาจารย์ พระครูวิจิตรธรรมสาร วัดมัชฌันติการาม เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พระอนุสาวนาจารย์ พระครูวิทิตคุณาภรณ์ วัดสามัคคีบำเพ็ญผล อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
การศึกษาทางธรรม
พ.ศ. ๒๕๑๒ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๕๔๑ สอบไล่ได้ ป.ธ. ๓ สำนักเรียนคณะจังหวัด ร้อยเอ็ด วัดมิ่งเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
การศึกษาทางโลก
พ.ศ. ๒๕๒๖ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศาสนศาตรบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ (ศน.บ) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๓๐ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท (M.A.) ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยปัญจาบประเทศสาธารณรัฐอินเดีย
พ.ศ. ๒๖๓๗ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก (Ph.D) คณะศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยปัญจาบ ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย
งานการปกครอง
พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมัชฌันติการาม
พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส วัดมัชฌันติการาม
พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นเจ้าอาวาสวัดมัชฌันติการาม
พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง พระอุปัชฌาย์
งานการศึกษาและเผยแพร่
พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นครุสอนพระปริยติธรรม สำนักศาสนศึกษา วัดมัชฌันติการาม
พ.ศ. ๒๖๔๐ เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษา วัดมัชฌันติการาม
พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นพระธรรมทูตไปต่างประเทศรุ่นที่๓ สายประเทศสาธารณรัฐอินเดีย แสดงพระธรรมเทศนาในวันสำคัญ ของพระพุทธศาสนาและวันธรรมสวนะตลอดปี
พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นรองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้รับตำแหน่งทางวิชาการ ระดับ “รองศาสตราจารย์พิเศษ สาขา การบริหารการศึกษา” จากมหาวิทยาลัย BOBHISASTRA UNIVERSETY FL. USA (BOU) รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นฯพระครูคู่สวด ฐานานุกรม ของพระธรรมปัญญาจารย์ พระราชาคณะ เจ้าคณะรองวัดมกุฏกษัตริยาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ที่พระครูธรรมศาสนโฆษิต
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูปลัด ฐานานุกรมของพระธรรมวรเมธี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ที่ พระครูปลัดศรีธรรมวัฒน์
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับ พระราชทานแต่งตั้งสมณะศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรเทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นพิเศษที่ พระครูธีสารปริยัติคุณ
พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้รับ พระราชทานแต่งตั้งสมณะศักดิ์เป็นพระราชาคณะ มีนามว่า พระพุทธิสารโสภณ
พระพุทธิสารโสภณ เป็นเจ้าอาวาสนักพัฒนากล่าวคือ หลังจากได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสแล้วได้พัฒนาวัดมัชฌันติการามในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเสนาสนะต่าง ๆ ทั้งกำแพงรอบวัด กำแพงรอบอุโบสถ เตาเผาศพไร้มลพิษ กุฏิรับรองพระภิกษุสามเณร เป็นประธานในการจัดซื้อที่ดินถวายวัดเพื่อทำสวนปฏิบัติธรรม จัดระเบียบการศึกษาของสำนักเรียนใหม่ จัดระเบียบการปกครองวัดใหม่ ส่งเสริมพระภิกษุสามเณรให้ ได้รับการศึกษาสูงขึ้น ทั้งทางโลกและทางธรรม จัดให้มีการเผยแผ่ธรรมทางสถานีวิทยุในนามของวัดเป็นประจำทุกวัน (ปัจจุบันไม่มีการจัดเผยแผ่ธรรมทางสถานีวิทยุแล้ว) จัดให้มีห้องปฏิบัติธรรมทุกวันพระและวันอาทิตย์ จัดให้มีการฟังธรรมพระกรรมฐานทุก ๆวันที่ ๒๕ ของเดือน
พระพุทธิสารโสภณกับศาสนกิจในต่างประเทศ
พระพุทธิสารโสภณเป็นพระเถระที่มีศีลาจารวัติงดงาม ใคร ๆ ก็ตามที่ได้พบเห็น ได้สนทนาด้วย ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันถึงศีลาจาวัตร อันงดงามดังกล่าว เป็นพระเถระที่มักน้อยสันโดษ มีอัธยาศัยไมตรี มีเมตตาเป็นหลักประจำใจ มีความขยันเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตพรหมจรรย์ จะเห็นได้จากการศึกษาเล่าเรียนของพระคุณท่านทั้งทางโลกและทางธรรม ได้สำเร็จการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาเอก คณะศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยปัญจาบ ซึ่งถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศสาธารณรัฐอินเดีย เป็นมหาวิทยาลัยที่บรรดาคนอินเดียเอง ต้องการเข้าไปศึกษาเป็นจำนวนมาก แต่น้อยคนนักที่จะสามารถสอบแข่งขันเข้าไปศึกษาในคณะต่าง ๆ ได้ พระคุณท่านศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ จบทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ในมหาวิทยาลัยแห่งที่ถือว่าเป็นระดับหนึ่งของประเทศสาธารณเดียวกัน ในเมืองดังกล่าวนั้น ก็มีพุทธศาสนิกชนชาวอินเดียให้ความเคารพนับถือต่อพระคุณท่านเป็นจำนวนมาก จึงมักกราบอาราธนา นิมนต์พระคุณท่านได้เมตตาเดินทางไปร่วมมือกับพระนักศึกษา/นักศึกษาไทยและชาวพุทธเมืองจันดิการ์ห หาที่ในการสร้างวัดขึ้น เพื่อนเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวะพุทธทั้งมวล ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ซึ่งมีอายุการก่อตั้งเมืองมาเพียง ๕๐ กว่าปี ถูกจัดเป็นเมืองที่น่าอยู่เป็นระดับสองของประเทศสาธารณรัฐอินเดีย โดยแบ่งเมืองออกเป็นเขต ๆ อาศัย เป็นต้น ทั้งหมดมี ๔๙ เขต ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของสองรัฐ คือ รัฐปัญจาบ (PunJab State) และรัฐหะริยานะ (Hariyana State) ราคาที่ดินในเมืองนี้ จึงค่อนข้างแพง แต่ด้วยความตั้งใจของชาวพุทธทุกฝ่าย โดยการนำของพระเดชพระคุณ จึงได้สร้างวัดพุทธวัดแรกในเมืองจันดิการ์ห ชื่อวัดอโศกพุทธวิหาร ถนนโรงเรียน ตำบลกุดดาอะลิเซอร์ เมืองจันดิการ์ห รัฐยูที สาธารณรัฐอินเดีย มีเนื้อที่ประมาณ ๑ ไร่