fbpx

ตะไคร้ต้น

ตะไคร้ต้น (Litsea cubeba Pers.) ตะไคร้ภูเขาหรือตะไคร้ดอย เป็นพืชที่มีกลิ่นผสมผสานระหว่าง ตะไคร้ มะนาว และใบมะกรูด กลิ่นหอมสดชื่น มีรสเผ็ดซ่า สามารถเจริญเติบโตได้ทั่วเอเชีย มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นสูง 5-8 เมตร เจริญเติบโตได้ดีที่ระดับความสูง 700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ดอกมีสีเหลือง ผลขนาดเล็ก 0.8-0.9 เซนติเมตร มีลักษณะผลกลมสีเขียว เมื่อแก่จัดเป็นสีม่วงเข้ม ผลแก่ช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม

ตะไคร้ต้น งานวิจัยและสรรพคุณ 32 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ตะไคร้ต้น
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ตะไคร้ดอย, สะไค้ (ทั่วไป), จ๊ะไคต้น (ภาคเหนือ), เกล๋อ (ลั๊วะ, ฉือจือ (มูเชอ), กวางจา (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Litsea cubeba (Lour.) Pers.
ชื่อสามัญ Pheant pepper tree
วงศ์ LAURACEAE


ถิ่นกำเนิดของตะไคร้ต้น

ตะไคร้ต้นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียบริเวณประเทศจีน ไต้หวัน และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย ลาว กัมพูชา พม่า มาเลเซียและอินโดนีเซีย เป็นต้น โดยมักจะพบตามพื้นที่ป่าที่ระดับความสูง 500-3,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เช่น ในบริเวณป่าโปร่งที่มีความชื้นในดินสูงและแสงแดดปานกลาง สำหรับในประเทศไทยส่วนใหญ่พบตามภาคเหนือบริเวณป่าดิบเขาทั่วไปที่ระดับความสูง 1,600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และมีรายงานว่า พบตะไคร้ต้น ได้ในหลายประเทศ เช่น อินเดีย มาเลเซีย ไต้หวัน ที่ระดับความสูง 500-2,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล อีกด้วย


ประโยชน์และสรรพคุณตะไคร้ต้น

  • ช่วยเจริญอาหาร
  • บำรุงประสาทและสมอง
  • บำรุงสตรีหลังคลอด
  • ช่วยลดไข้
  • ช่วยย่อยอาหาร
  • ช่วยขับลม
  • ช่วยขับเสมหะ
  • แก้ท้องเสีย  
  • ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย
  • ช่วยลดอาการเครียด ทำให้ผ่อนคลาย และสงบ
  • ป้องกันโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ป้องกันโรคหอบหืด
  • ป้องกันโรคลมบ้าหมู
  • ช่วยลดอาการเกร็งชักของกล้ามเนื้อ
  • บรรเทาอาการปวดเมื่อย
  • รักษาโรคอุจจาระร่วง
  • รักษาโรคบิด
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • ใช้ถอนพิษ
  • รักษาสิว
  • ใช้แก้โรคเกี่ยวกับมดลูก
  • บรรเทาอาการปวดหลัง
  • แก้ปวดตามกระดูก
  • แก้ปวดตามข้อ
  • ช่วยระงับประสาท
  • ช่วยต้านเชื้อโรคต่างๆ
  • ช่วยต้านอักเสบ
  • ช่วยขยายหลอดเลือด
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย

            ตะไคร้ต้น ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องเทศของชนเผ่าต่างๆ บนที่สูงมาเป็นเวลานานแล้วโดยมีการนำส่วนผลมาใช้เป็นเครื่องเทศปรุงอาหาร เนื่องจากผลแห้งมีกลิ่นหอมคล้ายตะไคร้ผสมมะนาว และมีรสเผ็ดซ่าจึงสามารถช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ และยังช่วยเพิ่มความหอม รวมถึงยังช่วยปรุงรสให้อร่อยขึ้น 

            อีกทั้งในปัจจุบันมีการนำราก กิ่งแก่นลำต้น ดอก และผลแห้ง มาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจะได้น้ำมันสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นหอมคล้ายมะนาว หรือ ตะไคร้ มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้แก่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสำหรับแต่งกลิ่นอาหารใช้เป็นส่วนผสมเครื่องสำอาง เช่น สบู่ ครีมบำรุงผิว แซมพูสระผม และน้ำหอม เป็นต้นใช้ทานวดเพื่อบรรเทาอาการเมื่อยล้าใช้ฉีดพ่นป้องกัน และไล่ยุง หรือ ใช้เป็นส่วนผสมของโลชั่น สำหรับทาป้องกันยุง เป็นต้น

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

สำหรับรูปแบบการใช้และขนาดวิธีใช้ตะไคร้ต้นในด้านสมุนไพร ตามตำรายาพื้นบ้านนั้น ได้ระบุถึงการใช้โดยหากเป็นการใช้ผล หรือ เมล็ด (ทั้งแห้ง และสด) จะเป็นการนำมาปรุงอาหาร หรือ ใช้ดอกกับน้ำผึ้งป่ากิน หากเป็นการใช้เนื้อไม้ รากกิ่ง จะใช้ต้นกับน้ำดื่ม หรือ นำมาต้มอาบ ตามสรรพคุณต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อก่อนหน้านี้


ลักษณะทั่วไปของตะไคร้ต้น

ตะไคร้ต้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ย่อย ได้แก่ Litsea  cubeba var. cubeba และ Litsea cubeba var. formosana ซึ่งมีลักษณะดังนี้ 

            Litsea cubeba var. cubeba  จัดเป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน สูง 10-15 เมตร ลำต้นตอนยังอ่อนมีเปลือกสีเขียวแต่เมื่อต้นแก่จะมีสีน้ำตาลปนเทา ผิวกิ่งย่อยเรียบ ใบเดี่ยวเรียงตัวแบบสลับ (alternate) ก้านใบเรียบ รูปร่างใบเป็นแบบ elliptic , oblong หรือ lanceolate ฐานใบเป็นแบบ cuneate ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ผิวใบทั้งสองด้านเรียบ ดอกออกเป็นช่อ บริเวณซอกใบและปลายยอด เป็นแบบแยกเพศและแยกต้น (dioecious) มีช่อดอกแบบ umbelliform raceme ดอกไม่มีขนและมี 4-6 ดอกย่อยต่อช่อดอก ส่วนผลเป็นแบบ berry ผลดิบสีเขียว ผลสุกมีสีดำ มีต่อมน้ำมันจำนวนมากในชั้น mesocarp มีเมล็ด 1 เมล็ดต่อผล

            ส่วนสายพันธุ์ Litsea cubeba var.formosana จัดเป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อน ขนาดเล็กสูง 2-5 เมตร ผลัดใบ ลำต้น เมื่อยังอ่อนมีเปลือกสีเขียว แต่เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลปนเหลือง บริเวณผิวกิ่งย่อย ตา และผิวใบด้านบนมีขนอ่อนนุ่มขนาดเล็กปกคลุมเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงแบบสลับ (alternate) รูปร่างเป็นแบบ ovale ฐานใบเป็นแบบ cuneate ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ผิวใบด้านล่างมีขนอ่อนนุ่มขนาดเล็กปกคลุมจำนวนมาก ดอกออกเป็นช่อบริเวณซอกใบและปลายยอดเป็นแบบแยกเพศและแยกต้น (dioecious) มีช่อดอกเป็นแบบ umbelliform raceme มีดอกย่อย 4-6 ดอกต่อช่อ ผลเป็นแบบ berry พบดิบสีเขียว ส่วนผลสุกมีสีดำ พบต่อมน้ำมันจำนวนมากในชั้น mesocarp มีเมล็ด 1 เมล็ดต่อผล

การขยายพันธุ์ตะไคร้ต้น

ตะไคร้ต้นสามารถขยายพันธุ์ได้ ด้วยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง แต่ส่วนมากจะนิยมใช้วิธีเพาะเมล็ดให้เป็นต้นกล้าแล้วจึงนำไปปลูก เพราะเป็นวิธีที่ง่าย และสะดวกกว่าวิธีอื่น โดยหลังจากการเพาะ เมล็ดจะงอก ประมาณ 30-60 วัน จากนั้น และดูแลจนกว่าต้นกล้าจะอายุ 6-8 เดือน ซึ่งนำลงปลูกในแปลง หรือ ตามที่ที่ต้องการต่อไป

การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของตะไคร้ต้น

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สำหรับการใช้ตะไคร้ต้นเป็นสมุนไพรควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ อีกทั้งเด็ก และสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ตะไคร้ต้น เป็นสมุนไพร เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาวิจัยด้านความปลอดภัยรวมถึงขนาดและปริมาณในการใช้ที่ปลอดภัย

พันธุ์ไม้ :- จากสวนนงนุชพัทยา และปลูกไว้ในสวนป่าปฏิบัติธรรม วัดมัชฌันติการาม

ขอบคุณเครดิตข้อมูลอ้างอิงจาก ตะไคร้ต้น ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย (disthai.com)