fbpx

ต้นไม้แดง

ชื่อไทย :แดง
ชื่อท้องถิ่น :ไปรน์(ศรีษะเกษ)
ชื่อสามัญ :Ironwood  
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub. kerrii (Craib & Hutch.) I.C.Nielsen
ชื่อวงศ์ :MIMOSACEAE
ลักษณะวิสัย :ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :ลำต้น :ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูงถึง 25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงกลมหรือทรงกระบอก ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง หรือเป็นปุ่มปม เปลือกสีเทาอมน้ำตาลหรือสีเทาปนเขียวเรียบหรือแตกล่อนเป็นแผ่นบางๆ เนื้อไม้สีน้ำตาลแดง กิ่งก้านและยอดอ่อนมีขนละเอียดสีเหลืองใบ :ประกอบแบบขนนกสองชั้น ปลายคู่ เรียงสลับ ช่อย่อยมี 1 คู่ ออกที่ปลายช่อใหญ่มีต่อมระหว่างซอกช่อย่อย แต่ละช่อย่อยมีใบย่อย 4-5 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 4.5-9 ซม. ยาว 7-20 ซม. ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาล เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น ก้านใบยาว 2-5 มม.ดอก :สีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุก ตามปลายยอดหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกรวมกลม กว้าง 2-2.5 ซม. กลีบเลี้ยง โคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังปลายแยก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ ติดกันเล็กน้อยที่บริเวณฐาน เกสรเพศผู้ 10 อัน มีกลิ่นหอมผล :เป็นฝักแห้งแตก แบนและแข็ง รูปโค้ง ขั้วผลสอบเรียว ปลายผลเรียวและโค้งงอ ผิวเรียบ สีน้ำตาลลอมเทา เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก เมล็ด แบนสีน้ำตาล 10 เมล็ด
ระยะติดดอก – ผล :เริ่มติดดอก :กุมภาพันธ์สิ้นสุดระยะติดดอก :เมษายนเริ่มติดผล :พฤศจิกายนสิ้นสุดระยะติดผล :กุมภาพันธ์
สภาพทางนิเวศวิทยา :
การปลูกและการขยายพันธุ์ :สภาพดินที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ต้องการแสงแดด โดยการเพาะเมล็ด
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :– เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนและทำเครื่องใช้ในครัวเรือน [1], [2] – ใบอ่อน รับประทานได้ [2] – ดอก แก้ไข้ – ผลแก่ที่แตกอ้าบานออกทำเป็นไม้ประดับแห้งได้ [3]

ปลูกถวายเป็นพุทธบูชา :- โดย นางนุชนาฏ อวยพร นายธีรโชติ อวยพร และน.ส.นิรมล อวยพร 11 มีนาคม 2565

พันธุ์ไม้ :- จากสวนนงนุชพัทยา และปลูกไว้ในสวนป่าปฏิบัติธรรม วัดมัชฌันติการาม

ขอบคุณเครดิตข้อมูลจาก https://www.royalparkrajapruek.org/Plants/view?id=1449