fbpx

การเตรียมตัวก่อนบวช

การเตรียมตัวก่อนบวช

ผ้าขาว, นาค, ขอบวช, บวช, นุ่งขาวห่มขาว, พ่อนาค, กล่าวคำขอบวช
ผ้าขาว, นาค, กล่าวคำขอบวช

การบวชนั้นเป็นหน้าที่อย่างหนึ่ง ของกุลบุตรผู้ที่นับถือในพระพุทธศาสนาพึงกระทำ เพราะการบวชหมายถึงการชำระล้างจิตใจ และเป็นการอุทิศตนเพื่อศึกษาพระธรรมคำสอนต่างๆ ของพระพุทธเจ้า ตลอดจนเป็นการทดแทนพระคุณของบิดามารดาอีกด้วย ดังนั้นในช่วงชีวิตหนึ่งของลูกผู้ชายไทยนั้น ต้องหาโอกาสบวชเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์ให้ได้สักครั้ง และสำหรับผู้ที่ตั้งใจจะบวชใน วันนี้ ควรเตรียมตัวก่อนบวชกันอย่างไร

1. ทำการขออนุญาตบิดา-มารดา หรือผู้ปกครองของท่านก่อนขอบรรพชาอุปสมบท สืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาล พระราหุลออกบวชโดยมิได้ทูลขอ ทำให้พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ทรงประสบความทุกข์อย่างหนัก อ่านเพิ่มเติม >>>

2. เดินทางไปติดต่อวัดที่ท่านต้องการจะบรรพชาอุปสมบท โดยติดต่อที่เจ้าอาวาสของวัดนั้น ๆ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าต้องการจะบรรพชาอุปสมบท พร้อมแจ้งวัน เวลา ที่จะขอบรรพชาอุปสมบท และติดต่อพระอุปัชฌาย์ เพื่อขอฉายา (ฉายา แปลว่า ชื่อทางพระ)

3. ติดต่อสำนักงานวัด เพื่อขอใบสมัครบวช พร้อมทั้งคำขานนาค (คำขานนาค แปลว่า คำกล่าว  ขอบรรพชาอุปสมบท) ซึ่งต้องท่องให้จนขึ้นใจ และเสียงดังฟังชัด ออกเสียงถูกต้องตามอักขระ ถูกสำเนียงตามภาษาบาลี ซึ่งในการกล่าวคำขานนาคจะมี 2 ลักษณะ คือ แบบเดี่ยว (คือนาคเดี่ยว) กับแบบหมู่ (คือบวชพร้อมกันหลายนาค)

3.1 ดาวน์โหลด ใบสมัครบวชของวัดนี้ คลิก>>>>>

3.2 ดาวน์โหลด คำขานนาคแบบเดี่ยว (ธรรมยุติ) คลิก>>>>

3.3 ดาวน์โหลด คำขานนาคแบบหมู่ (ธรรมยุติ) คลิก>>>>

3.4 ดาวน์โหลด คำวันทาเสมา คลิก>>> 

3.5 ดาวน์โหลด คำขอบรรพชา (บวชเณร)

4. การท่องบทขานนาค โดยปกติก่อนการบวชนั้น ผู้ที่ตั้งใจจะบวชจำเป็นต้องท่องบทขานนาคให้ได้ เพื่อที่ว่า ในวันบวชจริงนั้นเราจะต้องท่องบทสวดบทนี้นั่นเอง (ในสมัยโบราณผู้ที่จะบวชจะลงทุนไปนอนที่วัดเพื่อศึกษาบทขานนาคนี้ก่อนนานนับสัปดาห์ก่อนการบวชจริง หรือมาบวชเป็นผ้าขาวก่อน) ซึ่งงานบวชของเรานี้ถือว่าเป็นงานใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต เพราะสายตาของญาติโยมทั้งหมดในงานจะจ้องมาที่เราจุดเดียว เมื่อถึงขั้นตอนการขานนาค ดังนั้นการเตรียมตัวท่องบทนี้ไปตั้งแต่เนิ่นๆ คงจะดีกว่าการไปนั่งอ้ำๆ อึ้งๆ ให้ญาติโยมท่านเสื่อมศรัทธา จริงไหมครับ

5. การตรวจร่างกายและเซ็นใบสมัคร เป็นการตรวจหาความผิดปกติต่างๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการบวช เช่น ป่วยไข้อะไรหรือไม่ มีโรคประจำตัวหรือเปล่า เป็นต้น รวมถึงใบสมัคร เพราะสมัยนี้การที่จะบวชได้ต้องมีลายเซ็นยินยอมจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองเสียก่อน

6. จัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวในระหว่างที่บวช เช่น สบู่ ยาสระผม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ฯลฯ นอกจากนั้นต้องจัดเตรียมเครื่องอัฐบริขาร 8 ซึ่งประกอบไปด้วย ไตรครอง (ผ้าสบง จีวร ผ้าสังฆาฏิ) ไตรอาศัย บาตร ธมฺกรก (เครื่องกรองน้ำ) ย่าม รองเท้า เป็นต้น ซึ่งการเลือกไตรจีวรต้องดูวัดที่ท่านจะเข้าไปขอบรรพชาอุปสมทบด้วยว่า เป็นวัดธรรมยุต หรือ มหานิกาย ถ้าเป็นวัดธรรมยุต ให้ใช้ชุดไตรจีวรสีแก่นขนุน หรือสีกรัก แต่ถ้าวัดธรรมยุตที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล จะใช้ผ้าสีพระราชนิยม แต่ถ้าเป็นวัดมหานิกาย จะใช้ผ้าสีส้ม หรือสีออกเหลืองสด ซึ่งของเหล่านี้สามารถติดต่อสอบถามทางวัดที่ท่านจะขอบวชก่อน เพื่อความถูกต้อง และไม่เสียเวลาในการเดินทางไปจัดหา

ผ้าไตรจีวร (ไตรครอง), จีวร, ผ้าไตร, สีราชนิยม, สีพระราชนิยม, รัดประคด, สบง, รัดอก, พาน, พานวางผ้าไตร
ผ้าไตรจีวร (ไตรครอง),  สีพระราชนิยม,

7. การขอขมาลาโทษ การบวชนั้นเป็นการชำระล้างจิตใจ ดังนั้นผู้ที่บวชจึงต้องมีหน้าที่ ไปขออโหสิกรรม หรือขอขมาลาโทษจากทั้งพ่อแม่ หรือญาติพี่น้อง รวมไปถึงคนที่ผู้บวชเคยได้ล่วงเกินหรือสร้างความขุ่นข้องหมองใจให้ เพื่อที่ว่าการบวชของเรานั้นจะได้รับการอนุโมทนาและบริสุทธิ์ผุดผ่อง สามารถศึกษาธรรมะต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ไม่ต้องกระวนกระวายใจนั่นเองครับ

8. เก็บเนื้อเก็บตัว มีความเชื่อมาตั้งแต่โบราณว่า ก่อนการบวชมักจะมีมารมาผจญ ดังนั้นไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องจริงหรือแค่ความเชื่อ ผู้บวชควรเก็บเนื้อเก็บตัวศึกษาข้อวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ดี และไม่ควรไปไหนหากไม่จำเป็น เป็นการฝึกสมาธิของตนเองด้วยนั่นเอง

การบวชแม้จะมองว่ามีพิธีรีตองอะไรมากมายจนน่าปวดหัว แต่ผู้บวชก็จำเป็นต้องเตรียมตัวเสียก่อน      แต่เนิ่นๆ เมื่อถึงวันจริงจะได้ไม่เกิดการฉุกละหุก ขาดๆ เกินๆ ขึ้นได้ อันจะเป็นการเสื่อมเสียหน้า และทำให้ญาติโยมเกิดการหมดศรัทธาได้ครับสวัสดี

บรรพชา, บวชเณร, เณร, เณรน้อย, สามเณร, บวชเณรภาคฤดูร้อน, บวช, ผ้าที่ห่มชุดนี้สีแก่นขนุน
บรรพชา, บวชเณร, เณร, เณรน้อย, สามเณร, ผ้าที่ห่มชุดนี้สีแก่นขนุน

อ้างอิงข้อมูลมาจาก : การเตรียมตัวก่อนบวช มีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไรบ้าง